เจาะลึกเบื้องหลังบทบาทการสนับสนุนภารกิจต่อสู้โควิด-19 ของผู้ให้บริการเครือข่าย

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นมีบทบาทในการส่งมอบบริการที่ต่อเนื่อง ท่ามกลางความต้องการใช้งานดาต้าที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งดีแทคนั้นไม่เพียงทำหน้าที่มอบบริการโทรคมนาคมพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนให้สังคมเดินหน้าไปได้อย่างปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังให้การสนับสนุนภารกิจการต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 ในหลากหลายมิติ นับตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่าย 3 เท่า ไปจนถึงการติดตั้งอินเทอร์เน็ตฟรีที่โรงพยาบาลสนามสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย

ในการนี้ dtacblog จึงไปพูดคุยกับเลิศรัตน์ รตะนานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายประสานงานภาครัฐ จากดีแทค เพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นถึงเบื้องหลังการทำงานของผู้ให้บริการเครือข่าย ในการสนับสนุนภารกิจหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของประเทศไทย

บริการอันเป็นหัวใจสำคัญ

ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ การใช้งานมือถือกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงชีวิต นั่นเป็นสาเหตุที่ทีมปฏิบัติการโครงข่ายของเราได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้เดินทางข้ามจังหวัดต่างๆ และปฏิบัติงานในเวลากลางคืนในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ไม่นานหลังจากนั้น ศูนย์บริการต่างๆ ของดีแทคก็กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง บริการโทรคมนาคมนับเป็นบริการพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับสังคมไทย และช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเลิศรัตน์กล่าว

เมื่อประเทศไทยต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกแรกในเดือนเมษายน 2562 ผู้ให้บริการนั้นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เครือข่ายเพื่อตอบสนองต่อการย้ายถิ่นฐานของประชากรจำนวนมาก จากใจกลางกรุงเทพฯ สู่ต่างจังหวัดและย่านอยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้ ทีมงานโครงข่ายของดีแทคจึงได้นำเทคโนโลยี massive MIMO มาติดตั้งในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น เพื่อขยายประสิทธิภาพการใช้งาน 3 เท่า

“อุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นถูกมองว่าเป็นหัวใจสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อความสามารถในการยืนหยัดของประเทศไทย นอกเหนือจากการยกระดับประสิทธิภาพโครงข่ายแล้ว ดีแทคยังได้ออกแบบแพ็กเกจสำหรับนักเรียนนักศึกษา ในการเข้าถึงการเรียนออนไลน์และการใช้งานแอปพลิเคชันประชุมออนไลน์ต่างๆ ได้แบบไม่จำกัด เราได้มอบสิทธิพิเศษซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใช้งานช่องทางดิจิทัลมากขึ้น เพื่อให้พวกเขายังสามารถใช้งานบริการได้ต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ศูนย์บริการของดีแทค” เขาอธิบาย

จากโรงพยาบาลสนามสู่วัคซีน

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2564 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกสามได้ก่อให้เกิดความต้องการเร่งด่วนในการใช้งานบริการการเชื่อมต่อ ณ โรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ

“ในมุมมองทางด้านการแพทย์ หน่วยงานสาธารณสุขนั้นดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและการบริหารจัดการ แต่บริการเครือข่ายและสารสนเทศนั้นกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงานของหน่วยงานสาธารณสุข นับตั้งแต่การจัดสรรเตียง ไปจนถึงการวินิจฉัยโรคทางไกล หรือกระทั่งการเชื่อมต่อคนไข้กับครอบครัวและคนที่รัก ซึ่งนี่เป็นจุดที่ผู้ให้บริการเครือข่ายนั้นมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด” เลิศรัตน์กล่าว

ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงได้ยกระดับประสิทธิภาพการใช้งานโครงข่าย และติดตั้งบริการ dtac@home ที่โรงพยาบาลสนามหลายแห่ง อาทิ โรงพยาบาลสนามบุษราคัม 1-5 ที่อิมแพค เมืองทองธานี

blank

 

ความท้าทายต่อไปของประเทศไทย คือภารกิจการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ผ่านการฉีดวัคซีนให้กับประชากร ขณะที่ในต่างจังหวัดนั้นสามารถอาศัยแรงสนับสนุนจากเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยประชากรจำนวนกว่า 10 ล้านคนนั้น การบริหารจัดการนับว่ามีความท้าทายกว่ามาก ดีแทค ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่อื่นๆ ของไทย จึงได้จัดตั้งจุดลงทะเบียนรับวัคซีนสำหรับลูกค้าทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ

การจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนที่สามารถรองรับผู้เข้ารับบริการจำนวนกว่า 10,000 คนต่อวัน หรือคิดเป็นราว 800 คนต่อชั่วโมง นั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ในกรุงเทพฯ เกือบทุกคนนั้นมีโทรศัพท์มือถือ และผู้ให้บริการเครือข่ายนั้นคุ้นเคยดีกับการบริหารจัดการลูกค้าจำนวนมากอยู่แล้ว เราเล็งเห็นว่านี่คือโอกาสของดีแทคในการร่วมสนับสนุนภารกิจต่อสู้กับโควิด-19” เขากล่าว

ดีแทคนั้นเปิดให้ลูกค้าได้ลงทะเบียนเป็นครั้งแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม ผ่านศูนย์บริการและช่องทางดิจิทัล ภายในไม่กี่ชั่วโมง โควต้าการลงทะเบียนนั้นได้รับการจัดสรรจนเต็มจำนวน จากนั้นดีแทคจึงดำเนินการนัดหมายและให้การต้อนรับลูกค้า ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ อันเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดโดยหน่วยงานสาธารณสุข รวมทั้งได้มีการเปิดลงทะเบียนในรอบถัดไปเมื่อมีโควต้าวัคซีนเพิ่มเติมด้วย ซึ่งโควต้าดังกล่าวได้รับการจัดสรรเต็มจำนวนภายในสองชั่วโมง

blank

สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย

นอกเหนือจากการสนับสนุนในด้านวัคซีนและบริการการเชื่อมต่อแล้ว ดีแทคยังให้การสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบในภาคธุรกิจ อาทิ พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอย และผู้ผลิตอาหารรายย่อยในท้องถิ่นบางส่วน ซึ่งจำนวนมากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อันเนื่องมาจากการปิดร้านอาหาร ตลาด และชายแดน โครงการดีแทค เน็ตทำกินนั้นช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมายืนได้อีกครั้งผ่านการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ๆ 

โครงการดีแทค เน็ตทำกินนั้นจัดฝึกอบรมผู้ประกอบการรายย่อยในการขายสินค้าออนไลน์ เราสอนพวกเขาสร้างเพจออนไลน์สำหรับร้านค้า ถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ และเทคนิคการขายออนไลน์อีกหลายอย่าง ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการของเราอยู่รอดท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด แต่สำหรับผู้ประกอบการบางราย พวกเขายังสามารถสร้างรายได้ที่มากขึ้นกว่าตอนก่อนช่วงล็อกดาวน์เสียอีกเลิศรัตน์เล่า

ด้วยการทำงานของดีแทคในการมอบบริการการสื่อสาร การอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนวัคซีน และการติดปีกทักษะดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นรากฐานสำคัญในการช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูประเทศไทยจากวิกฤตโควิด-19 ในที่สุด

blank
blank
blank