การปลดล็อกศักยภาพคลื่น 5G ในประเทศไทยยังคงเป็นโจทย์ท้าทายไม่เหมือนใคร

ออสติน เม็นยาส ผู้อำนวยการส่วนงานกลยุทธ์กิจการองค์กร กับเส้นทางสู่การเร่งปลดล็อกศักยภาพและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G

ออสติน เม็นยาส นั้นเป็นชาวแคนาดาโดยกำเนิด เขาเริ่มต้นการทำงานที่ดีแทคเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 หลังร่วมงานกับทางเทเลนอร์ กรุ๊ป ในประเทศสิงคโปร์ มาเป็นเวลา 3 ปี ในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนงานกำกับดูแลและกิจการสาธารณะ ก่อนหน้านี้ออสตินใช้ชีวิตอยู่ในฮ่องกงและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านนโยบายและการกำกับดูแลที่สมาคมจีเอสเอ็ม และเคยรับราชการภายใต้รัฐบาลแคนาดา

ในฐานะผู้อำนวยการส่วนงานกลยุทธ์กิจการองค์กรของดีแทค ออสตินยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายกลุ่ม นับตั้งแต่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ดีแทคสามารถนำเสนอบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เขามาร่วมงานกับดีแทคในช่วงเวลาที่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้นเป็นปัจจัยที่กุมชะตาความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทยยิ่งกว่าในยุคสมัยใด เนื่องด้วยการมาถึงของ 5G นั้นได้เปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานระหว่างภาคธุรกิจ ภาครัฐ และผู้ให้บริการโทรคมนาคมไปจากเดิม

dtacblog จึงชวนออสตินมาพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น ว่านโยบายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลของประเทศไทยนั้น จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของบริการโทรคมนาคมอย่างไร 

“ในประเทศไทยนั้น จุดมุ่งหมายของภาครัฐโดยหลักการแล้วไม่ได้แตกต่างจากที่อื่นๆ กล่าวคือการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปในแต่ละประเทศคือสภาพแวดล้อมด้านนโยบายและการกำกับดูแล และคำถามที่ว่าสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะเอื้อต่อการบรรลุจุดมุ่งหมายเหล่านี้หรือไม่” เขากล่าว

เขาชี้ว่า เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile technology) ในยุคก่อนๆ แล้ว เทคโนโลยี 5G นั้นต้องอาศัยวิธีการที่ยืดหยุ่นและคล่องตัวกว่าทั้งในแง่การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์องค์กร

กระบวนการต่างๆ นั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศอย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง เพราะหน่วยงานกำกับดูแลฯ ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองด้านการกำกับดูแลในยุค 5G และก้าวจากการเป็นผู้ควบคุมดูแล (gatekeeper) มาเป็นตัวกลางที่ช่วยในการขับเคลื่อน ผ่านการเปิดพื้นที่ sandbox สำหรับการทดลองไอเดียใหม่ๆ และทำงานร่วมกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่ออนุญาตให้บริษัทต่างๆ สร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วและส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์ยิ่งขึ้นแก่ผู้บริโภค วิธีการทำงานดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นผ่านระบบใบอนุญาตของกิจการโทรคมนาคมเอง ซึ่งในหลายๆ ประเทศนั้นกำลังปรับเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างใบอนุญาตที่มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เพื่อเร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ และกระตุ้นให้เกิดรูปแบบความร่วมมือใหม่ๆ ในอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

จากประสบการณ์การทำงานในมาเลเซียและเมียนมาร์ของออสติน หน่วยงานกำกับดูแลฯ ในประเทศเหล่านี้ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมอย่างใกล้ชิด เพื่อมองหาและสร้างประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ผ่านการดูแลให้มีทรัพยากรพร้อมใช้งาน “มูลค่าที่แท้จริงของทรัพยากรของชาติอย่างคลื่นความถี่นั้น ไม่ได้สะท้อนอยู่ในมูลค่าการประมูลหรือค่าธรรมเนียมการกำกับดูแลเท่านั้น แต่สะท้อนให้เห็นผ่านการพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงข่ายและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สังคมโดยรวมได้รับจากคลื่นความถี่ เป็นสาเหตุที่เราเชื่อว่าความพยายามร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในการผลักดันให้เกิด 5G จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ” เขากล่าว

 

ในตอนนี้ ออสติน รวมทั้งสมาชิกในหลากหลายหน่วยงานของกลุ่มกิจการองค์กร มีหน้าที่ต้องพิจารณาถึงระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของประเทศไทยอย่างถี่ถ้วน และช่วยดูแลให้ดีแทคสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะให้การสนับสนุนลูกค้าในการเชื่อมต่อกับสิ่งที่สำคัญสำหรับพวกเขาได้อย่างราบรื่นที่สุด

“การขยายบริการบนคลื่น 700 MHz ของดีแทคเป็นความพยายามต่อเนื่องของเราในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาสู่ลูกค้าทุกคน อีกทั้งจะเอื้อให้เกิดการพัฒนารูปแบบทดสอบการใช้งาน หรือ use case ใหม่ๆ บน 5G ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทย และในการคว้าโอกาสเหล่านี้ ดีแทคจำเป็นต้องลุกขึ้นท้าทายสถานการณ์ที่เป็นอยู่และปรับเปลี่ยนองค์กร ในยามที่เทคโนโลยี 5G นั้นพัฒนาไปเต็มศักยภาพ อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนก็คือความมุ่งมั่นของดีแทคในการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า” เขากล่าว

การต้องทำงานอยู่บนนโยบายและการกำกับดูแลนั้น แปลว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชน ผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานกำกับดูแล นั้นยิ่งมีความสำคัญยิ่งยวด dtacblog จึงถามออสตินว่าภาครัฐและเอกชนจะทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น

เราเพียงแค่ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่า ดีแทคดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตและโปร่งใสเสมอ เราพยายามให้คำปรึกษาและคำแนะนำเชิงเทคนิคที่ดีที่สุด โดยตั้งอยู่บนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศตามหลักสากล (international best practice) และประสบการณ์ของเราในตลาดต่างๆ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ชื่นชมเราในจุดนี้ และเชื่อมั่นว่าเราจะมอบคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาว่าสิ่งใดจำเป็นต้องทำ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและทักษะของผู้เชี่ยวชาญด้วย ไม่ใช่เพียงมุมมองของบริษัทเท่านั้นออสตินกล่าว

เมื่อเราถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหลักในปี 2564 ออสตินตอบว่าการสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน 5G ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทดลอง use case ใหม่ๆ และการใช้งานคลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น คลื่น 3500 MHz ซึ่งเป็นทั่วโลกนิยมใช้สำหรับการทำ 5G และเมื่อเปิดให้ใช้งาน จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการช่วยเร่งให้เกิดการขยายบริการบน 5G เป็นทวีคูณ

สำหรับตัวออสตินเอง ในขณะที่เขาต้องรับมือกับแง่มุมและนานาประเด็นทางเทคนิคของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่น้อยคนจะเข้าใจ ชีวิตการทำงานของเขากลับถูกขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายเรียบง่าย คือการสร้างความแข็งแกร่งให้กับลูกค้าของดีแทค

ผมรู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้มีโอกาสทำงานที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตของผู้คน ผ่านการยกระดับการเข้าถึงเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อ สิ่งที่เราทำที่ดีแทคนั้นมีความหมายยิ่งต่อลูกค้าของเรา และเป็นแรงขับเคลื่อนให้ผมทุ่มสุดตัวในทุกๆ วันออสตินทิ้งท้าย

blank