ทีม Trip Panther จากดีแทค มุ่งหน้าสู่สิงคโปร์เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ของกลุ่มนักท่องเที่ยวด้วยตัวเอง

ในการสร้างวัฒนธรรมแบบผู้ประกอบการหรือในรูปแบบสตาร์ทอัพในองค์กรขนาดใหญ่ต้องการความคิดริเริ่มที่กล้าหาญซึ่งนำมาสู่นวัตกรรมอย่างแท้จริง ดีแทคและหน่วยงานธุรกิจอื่นๆ ภายใต้กลุ่มเทเลนอร์ ได้จัดทำโครงการสำหรับพนักงานชื่อว่า Ignite incubator ในปีนี้มีจำนวนทีมเกือบ 200 ทีมจาก 13 ประเทศ ทั้งจากประเทศนอร์เวย์ไปจนถึงประเทศบังคลาเทศเข้าร่วมส่งแนวคิดเพื่อชิงโอกาสในการเข้าร่วม Intensive Accelerator Bootcamp ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่มีแค่ 18 ทีมเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นทีมจากประเทศไทย หากพวกเขาเป็นผู้ชนะจากการแข่งขันครั้งนี้ สมาชิกทั้งสามคนจะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายซี่งจัดขึ้นที่ประเทศนอร์เวย์ โดยผู้เข้ารอบสุดท้ายทุกคนจะได้รับเงินเดือนเป็นเวลาสามเดือนในช่วงที่พวกเขาหยุดงานเพื่อสานต่อโครงการของพวกเขานั้นเอง

IMG_6212

โครงงานนี้มีชื่อว่า Trip Panther เป็นโครงงานซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการเป็นผู้ช่วยนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตัวเอง ให้สามารถวางแผนตารางการเดินทางตามความต้องการโดยทีมเจ้าของโครงงานประกอบด้วยนักการตลาดมืออาชีพอารมณ์ดีอย่าง วริศรา กลีบบัว และปุณฑริกา นุชาหาญ ทั้งสองรักในการท่องเที่ยวและการรับประทานอาหารนอกบ้าน ร่วมด้วยสมาชิกอีกคนหนึ่งคือ ธนาชัย ศิริสุริยเดช ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและแฟนบอลตัวยงของทีมเชลซี

“เคล็ดลับอันดับแรกสำหรับการนำเสนอไอเดียในบูทแคมป์ที่สิงคโปร์ก็คือ การฝึกซ้อมสามเวลาทุกวันต่อเนื่องกันเป็นเวลา 30 วัน นั่นหมายถึงการซ้อมถึง 90 ครั้งเลยทีเดียว” วริศรา กล่าว

วริศรา กล่าวว่า แนวคิดสำหรับ Trip Panther เกิดขึ้นระหว่างเธอเดินทางยังเมืองโฮจิมินฮ์ “ดิฉันได้ทำรายการสถานที่ที่ดิฉันต้องการจะไปเที่ยวไว้ และคิดได้ว่าน่าจะต้องใช้เวลาสองวันถึงสามารถไปได้ทุกที่ที่ต้องการได้ แต่สิ่งที่บรรดารีวิว และแผนที่ไม่ได้กล่าวถึงก็คือ เราควรใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ในแต่ละสถานที่ หรือลำดับก่อนหลังในการเที่ยวชม สรุปแล้วดิฉันไปครบทุกที่ภายในเวลาครึ่งวัน ส่วนเวลาที่เหลือต้องเผชิญกับอากาศที่มีทั้งร้อนและเฉอะแฉะมาก ทริปนั้นมีแต่ความวุ่นวาย ทำให้ดิฉันคิดได้ว่าเราต้องการโซลูชันเพื่อช่วยวางแผนการเดินทางที่ดี

เมื่อเดดไลน์สำหรับการส่งไอเดียภายใต้โครงการ Ignite เริ่มใกล้เข้ามา คู่หูนักการตลาดทั้งสองจึงรวบรวมสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันและมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมาร่วมทีม  พวกเขาจึงถามธนาชัย “เป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างแอพพลิเคชันเพื่อช่วยในการวางแผนการเดินทาง โดยมีความสามารถในการสร้างแผนที่ร่วมกับคำแนะนำและความคิดเห็นจากเพื่อนๆ เพื่อสร้างแผนการเดินทางที่ดีขึ้น” ซึ่งคำตอบจากธนาชัยคือ “เป็นไปได้”

ทีมได้รับการสนับสนุนจาก dtac Accelerate ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพอันดับหนึ่งในประเทศไทย “เคล็ดลับอันดับแรกสำหรับการนำเสนอไอเดียในบูทแคมป์ที่สิงคโปร์ก็คือ การฝึกซ้อมสามเวลาทุกวันต่อเนื่องกันเป็นเวลา 30 วัน นั่นหมายถึงการซ้อมถึง 90 ครั้งเลยทีเดียว” วริศรา กล่าว

ในขณะเดียวกันพวกเขาทั้งสามคนก็ต้องมุ่งหน้าทำโครงงานต่อ พวกเขาได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผ่านทางออนไลน์ไปแล้ว 150 คน และกำลังสัมภาษณ์เพิ่มเติมอีก เพื่อที่จะเก็บความคิดเห็นจากผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนที่จะเดินทางไปร่วมบูทแคมป์ที่ประเทศสิงคโปร์ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ ร้อยละ 50 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดเป็นกลุ่มเล็ก (น้อยกว่า 10 คน) และวางแผนเดินทางด้วยตนเอง โดยมากกว่าครึ่งของกลุ่มนี้ได้ให้ความเห็นตรงกันว่าการวางแผนการเดินทางเป็นปัญหาหลักในการท่องเที่ยวของพวกเขา

“ก่อนถึงวันที่ต้องนำเสนอ เราจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองการใช้งานก่อน” ธนาชัยกล่าว “วิธีนี้เป็นวิธีการทำงานที่รวดเร็วมากเหมือนกับ “วิธีอไจล์” (Agile Method) ของพวกสตาร์ทอัพที่ใช้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ดิจิทัลใหม่ๆ โดยเมื่อสามปีก่อน เราไม่มีกระบวนการเหล่านี้ในเทคโนโลยีกรุ๊ปเลย แต่ในปัจจุบันวิธีนี้ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายขึ้น

IMG_6222

“ดิฉันคิดว่าร้อยละ 99 ของผู้ใช้งานจะเป็นเพียงผู้ติดตาม โดยมีแค่ร้อยละ 1 เท่านั้นที่จะสร้างแผนการเดินทาง และเพิ่มข้อแนะนำต่างๆ” ปุณฑริกา กล่าว “และนั่นเป็นเรื่องปกติทั่วไปของการใช้โซเชียลมีเดีย เราจึงต้องเริ่มต้นจากการหาแผนการเดินทางต่างๆจาก Pantip.com และจากผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการท่องเที่ยว

มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทีมเราที่จะหาจุดสมดุลที่ลงตัวในการทำโครงการนี้ร่วมกับงานประจำ แต่เนื่องจากหัวหน้าของพวกเราเคยเป็นผู้ชนะในโครงการ Ignite Incubator มาก่อน เราเลยได้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ “ดิฉันคิดว่าพวกเรากำลังอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงของดีแทค” วริศรากล่าว

“ดีแทคเป็นบริษัทใหญ่ก็จริง แต่เราก็ทำได้ดีในการปรับการทำงานให้มีความรวดเร็วคล่องตัวมากยิ่งขึ้น” วริศรากล่าว