ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล สิ่งที่ท้าทายอย่างมากคือ การเคลื่อนตัวทั้งองคาพยพ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง บางคนอาจสงสัยว่า “ฉันจะอยู่ตรงไหนในการเปลี่ยนผ่านนี้ล่ะ ฉันโค้ดดิ้งไม่เป็น ฉันไม่ใช่ดิจิทัลใช่มั้ย” และนั่นจะทำให้การเปลี่ยนผ่านนั้นสะดุดลง
คนทำงานต้องถามตัวเองว่าคุณทำงานเพื่ออะไร ถ้าตอบว่าเพราะนายสั่งให้ทำ นั่นแสดงว่าคุณมีปัญหาแล้ว แต่ถ้าตอบว่าเพื่อทำให้บริษัทถึงเป้าหมายที่วางไว้ นั่นหมายถึงว่าคุณเดินบนเส้นทางเดียวกัน ซึ่งนั่นคล้ายกับเรื่องของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดีที่ถามภารโรงที่ทำงานใน NASA ว่างานที่คุณทำอยู่คืองานอะไร ภารโรงคนนั้นตอบว่า “ฉันกำลังช่วยให้นำคนไปสู่ดวงจันทร์”
ดิลลิปจบการศึกษาด้านการเงินและการบัญชี โดยพื้นฐานเขาชอบการคิดและก่อร่างสิ่งต่างๆ จึงได้ตัดสินใจลองลงทุนและทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับบริการด้านการเงิน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวัง อย่างไรก็ตาม เขาได้ทำงานที่สองหลังจากจบการศึกษาที่บริษัท โคคาโคล่า อินเดีย ซึ่งถือเป็นโชคที่ดีมากของเขา เพราะที่นั่น มีการวิธีการดูแลพนักงานใหม่ (Onboarding) ที่แปลกและแตกต่าง
เมื่อพนักงานใหม่เข้ามาที่โคคาโคล่า เขาจะต้องนั่งไปกับรถขนส่งสินค้าและพยายามทำความเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร และเพื่ออะไรเป็นเวลา 1 เดือน ไม่ว่าจะเป็นการขาย การขนส่งสินค้า การวัดอุณหภูมิที่ตู้แช่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้พนักงานทุกคนในบริษัทไม่ว่าจะในแผนกอะไรก็ตามควรเข้าใจการทำงานว่าพนักงานขายทำงานอย่างไร เปรียบเสมือนกับพนักงานทำความสะอาดที่ NASA รู้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการส่งขึ้นไปสำรวจที่ดวงจันทร์
“ผมโชคดีที่ได้เป็นพนักงานคนที่สองของโคคาโคล่า อินเดียที่ให้รับช่วงต่อในงานที่โรงงานผลิตขวด และนั่นก็เป็นหลักสูตรเร่งรัดในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร” โคคาโคล่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก มีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานและคนเหล่านี้ก็ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์เลยสักเครื่อง มันเป็นงานที่หนักมาก เขาทำงานหนักข้ามคืนในโรงงานโดยไม่กลับบ้าน แต่มันก็เป็นงานที่เยี่ยมยอดเลยทีเดียว ซึ่งสอนให้ดิลลิปได้รู้วิธีการที่จะเข้าใจและช่วยธุรกิจได้อย่างไร โดยไม่ใช่เพียงแค่นั่งอยู่ที่โต๊ะกับบทบาทที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น และสุดท้ายเขาก็ทำมันสำเร็จโดยสามารถพัฒนาจนถึงระดับมาตรฐานของโคคาโคล่าที่กำหนดไว้
หลังจากนั้น ดิลิปได้เริ่มต้นเส้นทางในสายโทรคม โดยย้ายไปทำงานกับ Vodafone อินเดีย ซึ่งที่นั่นได้ถามดิลิปว่าเขาจะเลือกอยู่ในหน่วยที่มีอยู่แล้วหรือเลือกจะตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งตลาดโทรคมที่อินเดียมีขนาดใหญ่มาก โดยแบ่งเป็น 22 ใบอนุญาตระดับภูมิภาค และนั่นหมายถึงการมีความต้องการในการขยายตลาดอยู่เสมอ แน่นอนว่าเขาเลือกที่จะตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา คำถามต่อมาคือ
“จะเริ่มหรือจะ disrupt ซึ่งสิ่งที่เป็นคำตอบถัดมาคือ ต้องพิจารณาโครงสร้างของธุรกิจก่อนเสมอ”
ซึ่งโปรเจ็คที่เข้าเลือกนั้น ดิลลิปตั้งเป้าที่จะรายได้อย่าง ซึ่งมีมาตรวัดต่างๆ เพื่อที่จะลดกิจกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือมีประสิทธิภาพต่ำ เช่น การจัดการด้านเวลา การให้ความสำคัญกับงานที่มีผลตอบแทนต่ำ ดังนั้น การเงินจึงเป็นเรื่องของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ไม่ใช่การลงตัวเลขในบัญชีเท่านั้น
สำหรับดีแทค ปัจจุบันพบว่าเวลากว่า 80% ที่ใช้ไปอยู่กับกิจกรรมที่มีผลตอบแทนต่ำ และยังคงอยู่กับระบบ manual แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนในชั่วข้ามคืน “ผมชอบการสร้างข้อตกลงร่วมกัน พยายามให้พนักงานซื้อแนวคิดที่เราขาย ค่อยๆ ปรับเปลี่ยน ตั้งข้อสังเกตและพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองว่า นี่แหละคือทางออก” แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้น สิ่งแรกที่เราต้องทำให้สำเร็จคือเป้าหมายธุรกิจ ส่วนหนึ่งคือการลดต้นทุน แม้จะเหลือเวลาเพียงอีกไม่ถึง 2 เดือน แต่คือหน้าที่หลักของ Finance Group ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีภารกิจเรื่องของการสิ้นสุดสัมปทานในเดือนกันยายนปีหน้า ตลอดจนงานด้านการตรวจสอบภายใน
“การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน และหลายครั้งดิลลิปเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของความช้าอันเกิดมาจากสไตล์การทำงานของเขาเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมในวัฒนธรรมการทำงาน”
ซึ่งจะอยู่อย่างยั่งยืนกว่าการบังคับ และนี่คือหัวใจและพื้นฐานของงานด้านการเงิน การเสริมสร้างจากฐานที่แข็งแรง ซึ่งเหมือนกับการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล “ผมเชื่อมั่นว่าเราไปถึงจุดนั้นได้แน่ หากมีพื้นฐานที่แน่นพอ หากมีคนถามว่าคุณทำอะไรในดีแทค หากคุณตอบได้เช่นเดียวกับคำถามของ John F Kennedy นั่นแสดงว่าคุณกำลังอยู่บนหนทางเดียวกัน”
ดิลลิป ปาล ดำรงตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซสคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยก่อนหน้านี้รับตำแหน่งเดียวกันที่ Grameenphone ประเทศบังกลาเทศ