เทเลนอร์เดินหน้าต่อเนื่องสร้างบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยีสู่ Growth 2.0

เนื้อหาสรุปจากนายซิคเว่ เบรคเก้, President and Chief Executive Officer (CEO) เทเลนอร์ กรุ๊ป และนายเยอเก้น โรสทริป, EVP and Head of Telenor Asia เทเลนอร์ กรุ๊ป ในประเด็นก้าวต่อไปของเทเลนอร์ในการสร้างบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยีที่แข็งแกร่งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย

การอภิปรายจัดขึ้นหลังจากเทเลนอร์ และเอเซียต้า ได้รับแจ้งถึงความชัดเจนจากหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบให้เดินหน้าควบรวมกิจการ เซลคอม-ดิจิ (Celcom-Digi) ในประเทศมาเลเซีย

นายซิคเว่ เบรคเก้, President and Chief Executive Officer (CEO) เทเลนอร์ กรุ๊ป  กล่าวว่า “เมื่อเทเลนอร์เข้าสู่ตลาดไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว วิสัยทัศน์ของบริษัทคือคนไทยทุกคนควรเข้าถึงโทรศัพท์มือถือและสามารถซื้อได้ เทเลนอร์รุกที่เปลี่ยนแปลงตลาดต่างๆ เช่น การคิดค่าบริการเป็นวินาที และการตลาดและการจัดจำหน่ายใหม่ๆ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อใช้จ่ายได้ ทุกวันนี้ การเข้าถึงของโทรศัพท์มือถือของประเทศไทยอยู่ที่ 86% และมีการเชื่อมต่อมือถือ 98.5 ล้านอุปกรณ์ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า การเติบโต 1.0 หรือ Growth 1.0 ในประเทศไทย”

ในอีก 20 ปีข้างหน้า การเติบโตของเทเลนอร์ในประเทศไทยจะแตกต่างกันมาก นายซิคเว่ เบรคเก้ กล่าวว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่(Perfect storm) ด้วยเทคโนโลยีใหม่ – ปัญญาประดิษฐ์, IoT และ 5G มารวมกัน จะไม่ใช่การเชื่อมต่อแค่ผู้คนเข้าด้วยกันอีกต่อไป แต่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ กับอินเทอร์เน็ต จะมีการใช้ดาต้ามหาศาลและจะต้องใช้ AI เพื่อให้เข้าใจถึงดาต้าจำนวนมหาศาลที่สร้างขึ้น จะต้องใช้ความเร็ว 5G เพื่อเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ นับร้อยนับพัน

เขาเน้นย้ำถึงวิธีใหม่ๆ ที่กลุ่มผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจ และภาครัฐบาลสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ได้ เช่น การขนส่งท่าเรือขนาดใหญ่ ระบบป้องกันประเทศ และการแพทย์

การแข่งขันสำหรับโทรคมนาคมจะเปลี่ยนไป คู่แข่งจะไม่ใช่แค่บริษัทโทรคมนาคมแบบดั้งเดิม แต่เป็นบริษัทแพลตฟอร์มระดับโลก เช่น AWS, Google Cloud และ Microsoft บริษัทแพลตฟอร์มระดับโลกเหล่านี้จะเป็นทั้งพันธมิตรของบริษัทโทรคมนาคมและจะเป็นคู่แข่งด้วย เทเลอนอร์ได้ลงนามความร่วมมือระดับโลกเป็นพันธมิตรร่วมกับ AWS, Google และ Microsoft

นายซิคเว่ กล่าวว่า “สิ่งที่เทเลนอร์พยายามสร้างขึ้นในประเทศไทยไม่ใช่แค่บริษัทโทรคมนาคม เรากำลังพยายามสร้างบริษัทเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีครั้งใหญ่และนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ สำหรับประเทศไทย เราจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อเราได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทระดับโลกเหล่านี้ ซึ่งบริษัทโทรคมนาคมขนาดเล็กในประเทศ อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากบริษัทระดับโลก”

นายเยอเก้น โรสทริป, EVP and Head of Telenor Asia เทเลนอร์ กรุ๊ป กล่าวเสริมว่า “เราเชื่อว่าการควบรวมกิจการระหว่างดีแทคและทรูจะสร้างบริษัทที่แข็งแกร่งซึ่งสามารถลงทุนและมีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาดิจิทัลและเทคโนโลยีของประเทศไทยสู่อนาคต นี่เป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะขับเคลื่อนไปสู่การเติบโต 2.0 (Growth 2.0) และทำให้ประเทศอยู่ในแนวหน้าของภูมิภาค ประเทศไทยต้องการผู้เล่นในตลาดที่แข็งแกร่ง 2 ราย ไม่ใช่แค่รายเดียวที่แข็งแกร่งแต่อีก 2 ไม่แข็งแกร่ง”

blank

บริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยีในประเทศไทยนี้จะดีสำหรับผู้บริโภค ธุรกิจ สตาร์ทอัป และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา เราจะนำเทคโนโลยีขั้นสูงและความเชี่ยวชาญของเทเลนอร์ทั้งในกลุ่มภูมิภาคนอร์ดิกและเอเชียสู่บริษัทใหม่นี้ พร้อมกับรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ สนับสนุนการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล และสร้างสถานที่ทำงานสำหรับอนาคต