หลายคนพูดถึงการชูวัฒนธรรมแบบสตาร์ทอัพในองค์กร แต่มีเพียงไม่กี่คนที่จะทำงานด้วยวิถีแห่งนวัตกรรมจากนั้นค่อยนำสู่วัฒนธรรมองค์กร ปีที่ผ่านมา ดีแทคร่วมกับบริษัทต่างๆ ในเทเลนอร์ กรุ๊ป 13 ประเทศจัดโครงการอิกไนท์ โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการในองค์กร เพื่อกระตุ้นความคิดสู่โครงการใหม่ๆ ด้วยการริเริ่มให้พนักงานนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจ โดยผู้ชนะจะได้โอกาสพัฒนาธุรกิจนั้น สู่ผลิตภัณฑ์จริงให้ลูกค้าใช้งานในชีวิตประจำวัน สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เริ่มอิกไนท์แบทช์ที่ 3 โดยได้ใช้สิ่งที่เรียนรู้มาจากสองครั้งแรก เพื่อพัฒนาให้โครงการดีขึ้น และนี่คือส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราเรียนรู้มา
อันดับแรก ถ้าคุณจะให้พนักงานเข้าถึงจิตวิญญาณสตาร์ทอัพ คุณต้องให้เป้าหมายที่ชัดเจนและน่าสนใจ สำหรับอิกไนท์รับประกันได้เลยว่ามีบางโครงการที่อยู่ในช่วงพัฒนา มีแนวโน้มจะออกมาได้ผลที่คุ้มค่าอย่างแท้จริง อย่างเช่นในประเทศมาเลเซีย มีโครงการที่ถูกตั้งออกมาเป็นอีกบริษัทแล้ว และส่วนหนึ่งของผลิตภันฑ์ของผู้ชนะในแบทช์แรกของประเทศไทย ก็ได้นำมาพัฒนาต่อและเชื่อมโยงกับดีแทค รีวอร์ดอีกด้วย บริษัทอื่นอาจจะมีแค่แนวคิดการส่งเสริม “ผู้ประกอบการ” ในองค์กร แต่ที่นี่เราไม่ได้เป็นแค่แนวคิดแต่เราลงมือทำกันจริงจัง
ความสำเร็จของโครงการต้องมีความชัดเจนและจริงใจว่าใครจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราทำ สำหรับอิกไนท์ เรามีนโยบายให้พนักงานเป็นผู้มีสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มรูปแบบ นั่นรวมถึงทุกโครงการที่ส่งเข้ามาและไม่ได้รับเลือกอีกด้วย ถ้าโครงการได้รับเลือกก็จะสามารถเข้าเป็นพาร์ทเนอร์กับดีแทค โดยที่จะได้เข้าร่วมบู้ทแคมป์ติวเข้ม และได้สิทธิ์ลางาน 3 เดือน พร้อมทั้งได้รับเงินเดือนตามปกติ เพื่อไปพัฒนาโครงการอย่างเต็มที่อีกด้วย
การให้คำแนะนำจาก ที่ปรึกษาหรือเมนเทอร์เป็นหลักสำคัญแก่ผู้เข้ารับการอบรม สำหรับแบทช์นี้ผมต้องการทำงานใกล้ชิดกับทีมมากกว่าที่ผ่านมา เราจะนำประสบการณ์ที่ได้จากดีแทค แอคเซอเลอเรท (โครงการสร้างสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในไทย) พร้อมกับการแนะนำ pitching ที่ดีที่สุดของไทย โดยหนึ่งในนั้นได้รับรางวัล Best Pitch at Echelon 2014 ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ท้ายที่สุดแล้ว เราได้เรียนรู้ว่ายังมองข้ามความต้องการหลายๆ อย่างของลูกค้าอยู่ ทั้ง ดีแทค แอคเซอเลอเรท และโครงการอิกไนท์ เราได้ผลิตภันฑ์ต่างๆ มากมาย จากเหล่าผู้ก่อตั้งที่ตื่นเต้นกับแนวคิดของตัวเอง โดยที่อาจจะไม่เคยลองถามว่า จริงๆแล้วผู้ใช้งานต้องการอะไร ถ้าเราไม่ได้เข้ามาแก้จุดที่เป็น pain point ของผู้ใช้งาน สิ่งที่คุณคิดจะเหมือนกับไร้ประโยชน์ สำหรับอิกไนท์แบทช์นี้ เราจึงได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยจากระดับภูมิภาค มาจัดเวิร์กช้อปในหัวข้อ “สัมภาษณ์ผู้ใช้งานอย่างไรให้ค้นพบความต้องการ”
โครงการอิกไนท์สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของผู้เข้าร่วมได้เป็นอย่างมาก แทบจะกล่าวได้ว่าคงไม่มีทางที่จะกลับไปทำอะไรในแนวทางแบบเก่ากับสิ่งเดิมๆได้อีก ดีแทคยังคงมุ่งสู่ธุรกิจโทรคมนานาคมสร้างโครงข่ายที่ดีขึ้น แต่เราก็ต้องการมุ่งสู่อีกก้าวของวิวัฒนาการเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิต และเราต้องการสร้างบริการดิจิทัลที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า สำหรับอิกไนท์เรากำลังเปลี่ยนแปลงตัวของเราเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต
เฉลิมยุทธ์ บุญมา ผู้จัดการอาวุโส จากดีแทค แอคเซอเลอเรท ผู้ดูแลโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท อันดับ 1 ของไทย ที่สร้างสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ จากหลักสูตรระดับโลก การติวเข้มจากเมนเทอร์ สร้างโอกาสการลงทุน และการสนับสนุนธุรกิจจากเทเลนอร์กรุ๊ป เฉลิมยุทธ์ยังเป็นผู้ดูแลโครงการอิกไนท์ของเทเลนอร์ และโครงการภายในของดีแทค