เราเรียนรู้อะไรจากนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในงาน MWC2019 บ้าง

ในงาน MWC2019 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นงานที่รวบรวมคนในวงการเทคโนโลยีจากผู้ให้บริการมือถือ ผู้ผลิตอุปกรณ์และนวัตกรรมต่างๆ ไว้ที่เดียวกันมากที่สุดในโลก

ซึ่งในงานนี้ ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานเทเลนอร์กรุ๊ป ก็ได้ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ไว้ในงาน MWC2019 ภายใต้หัวข้อ #BetterFuture Seminar: Progressive Leadership in the Digital Age โดนซิกเว่ได้มองถึงปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นว่า “การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 5G ปัญญาประดิษญ์ และ IoT อาจเรียกได้ว่าเป็น “Perfect Storm หรือสถานการณ์ที่เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาพร้อมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในอนาคต ทั้งในแง่ของอุปสรรคและโอกาส”

เมื่อปีที่ผ่านมา หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องที่กูเกิ้ลพัฒนาผู้ช่วยส่วนตัวที่สามารถโทรและจองคิวช่างตัดผมได้ ซึ่งในแง่หนึ่งอาจสร้างความหวาดกลัวให้กับมนุษย์ในแง่ของการเข้ามาแย่งงาน แต่ขณะเดียวกัน ก็สร้างโอกาสให้แก่มวลมนุษยชาติในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

โอกาสของ IoT กับการใช้ข้อมูล

ทุกครั้งที่เราพิมพ์การค้นหาในแต่ครั้ง รู้หรือไม่ว่านัยหนึ่งคือการช่วยกูเกิ้ลเทรนระบบ AI ให้กับกูเกิ้ลด้วยการใส่ข้อมูลลงไป และทุกครั้งที่พิมพ์ลงไป ก็ยิ่งทำให้บอทของกูเกิ้ลฉลาดและแม่นยำขึ้นเท่านั้น และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เห็นทั้งโอกาสและอุปสรรค นั่นคือ การแสวงหาโอกาสจากการใช้ข้อมูลด้วยเทคโนโลยี AI เพราะยังเป็นพื้นที่ที่มีผู้เล่นจำนวนน้อย และตัวอย่างที่ชัดเจนคือ IoT ซึ่งทำให้ลูกค้าได้ใช้ประโยชน์จากดาต้าต่างๆ แปรเป็น consumer products ที่ดีขึ้น

ที่เทเลนอร์กรุ๊ป เราเชื่อว่า IoT จะเป็นตัวเร่งสำคัญในการทำให้เกิดปัญญาประดิษฐ์ เพราะอย่างที่เทเลนอร์ นอร์เวย์ ก็มีการจัดสรร NB-IoT หรือคลื่นช่วงแคบเพื่อนำมารองรับกับเทคโนโลยี IoT และเพื่อให้เกิดนวัตกรรมอย่าง IoT มากขึ้น จึงผลักดันความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อคิดค้นและวิจัยทางด้านเทคโนโลยี IoT โดยเฉพาะ

ขณะเดียวกัน IoT ก็ยังสร้างจำนวนข้อมูลมหาศาล ซึ่งสามารถนำไปใช้กับ machine learning และอัลกอริธึ่มต่อได้ ทำให้เราเห็นข้อมูลอินไซต์ที่มากขึ้น ทำให้การทำนายอนาคตต่างๆ ของ IoT แม่นยำขึ้นได้

หรือพูดง่ายๆ คือ IoT จะทำให้เกิดดาต้าจำนวนมหาศาล ทำให้โปรแกรมมิ่งโมเดลและปัญญาประดิษฐ์สามารถนำไปทำนายอนาคต ตัดสินใจ และควบคุมงานนั้นๆ ได้เอง ซึ่งจะมาแทนที่งานบางอย่างในปัจจุบันที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และนี่จะทำให้เกิดโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งนี่ยังคงเป็นโจทย์ของผู้ให้บริการว่าจะสามารถแปรจะสามารถทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคในระดับ end users ได้อย่างไรบ้าง

และเมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง IoT และ AI ข้างต้น สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยคือ Connectivity ซึ่งนั่นคือเทคโนโลยี 5G ที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เทคโนโลยีทั้ง IoT และ AI สามารถเกิดขึ้นได้ และนี่จึงเป็นบทบาทของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการหาโมเดลธุรกิจใหม่ในอนาคต ที่สามารถกระโดดลงไปทั้ง value chain ของผู้บริโภค ผ่านความร่วมมือต่างๆ ในอุตสาหกรรมอื่นๆ

เทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้รับการพูดถึงในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น 5G IoT และ AI อาจเรียกว่าเป็น perfect storm แต่นี่คือสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บทบาทของผู้ให้บริการคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค สร้างโอกาสและอนาคตที่ดีกว่า

ซิกเว่ ยังเสริมด้วยว่า perstorm ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแค่การแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น แต่ในฐานะผู้ให้บริการต่างต้องคำนึงถึง “ความรับผิดชอบ” เพราะหากข้อมูลคือน้ำมันของโลกใหม่ ความไว้เนื้อเชื่อใจก็มองได้ว่าเป็นเงินตราของใหม่เหมือนกัน (If data is the new oil, trust is the new dollar)