เจาะลึกระบบ “หลังบ้าน” ตัวแปรสำคัญเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัล

ในวิกฤตโควิด-19 แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างจะชะลอตัวลงจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่เติบโตขึ้นสวนกระแสและกลายเป็น New normal ต่อภาคธุรกิจก็คือ E-commerce โดยล่าสุด Priceza ผู้ให้บริการเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซค้นหาราคาและเปรียบเทียบสินค้าประเมินว่ามูลค่าตลาด E-commerce ของไทยในปีนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 220,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 35% หรือคิดเป็นสัดส่วน 4-5% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด

ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ธุรกิจอย่างรวดเร็วในกระแส digital disruption ที่การขายของออนไลน์กำลังจะกลายเป็นช่องทางหลักในอนาคต แต่ธุรกิจจะไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพหากขาด “ระบบหลังบ้าน” ที่ดี

รวดเร็ว เสถียร ปลอดภัย

ปรวีร์ นิลุบล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายขาย กลุ่มธุรกิจดีแทค บอกว่า การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมีหลายองค์ประกอบเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์เอง ปัจจัยเรื่องแบรนด์ ความยากง่ายในการสั่งซื้อ ตลอดจนบริการหลังการขาย ซึ่งในยุคดิจิทัลที่ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น “ประสบการณ์ลูกค้า” ได้กลายเป็นหัวใจหลักในการออกแบบ customer journey ของผู้บริโภค

ซึ่งองค์ประกอบสำคัญหรืออาจเรียกได้ว่าเป็น backbone ของการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดีในยุคดิจิทัลนี้ก็คือ “ระบบไอที” ซึ่งเป็นระบบหลังบ้านที่ใช้เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม “ข้อมูล” เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการ แก้ไข และตัดสินใจทางธุรกิจ

“ธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก มาไวไปไว ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องตอบสนองกับความต้องการผู้บริโภคให้ได้อย่างทันท่วงที ถึงจะเป็นผู้ชนะ อย่างในช่วงโควิด-19 สินค้าบางประเภทอย่างหม้อทอดไร้น้ำมัน อยู่ดีๆ ก็ฮิตติดลมบน ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หากเราต้องการเป็นหนึ่งในผู้เล่นนั้น ความพร้อมของระบบหลังบ้านจึงเป็นตัวชี้วัดศักยภาพในการแข่งขันของเราต่อตลาดได้” คุณวิม กล่าว

เมื่อก่อน การจัดแคมเปญขายสินค้าครั้งหนึ่ง จำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมพร้อมล่วงหน้า (Lead time) ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดความพร้อมทั้งในแง่การตลาด การขายและระบบสต๊อคสินค้า แต่ในยุคนี้ Lead time ที่ใช้ต้อง “น้อยลง” เพื่อให้เท่าทันกับกระแสความต้องการของผู้บริโภคในระยะเวลาหนึ่งๆ

นอกเหนือจากความเร็วแล้ว ความเสถียรและความปลอดภัยก็เป็นอีกประเด็นสำคัญของระบบหลังบ้าน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าและบริการเกิดขึ้นและถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะกับองค์กรธุรกิจที่มีการทำรายการข้อมูลจำนวนมาก

ก้าวสู่ยุคคลาวด์คอมพิวติ้ง

เแต่เดิม ระบบไอทีที่นำมาใช้งานในธุรกิจมีโครงสร้างแยกส่วน ต้องมีองค์ประกอบหลายส่วนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ โครงข่ายสื่อสารภายใน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดปัญหาในการเข้าถึงระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ด้วยวิวัฒนาการของระบบไอที ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Cloud Computing เข้ามาช่วยทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวคิดสำคัญของเทคโนโลยี Cloud Computing คือการ “แบ่งปันทรัพยากร” ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยเน้นที่ส่วนของซอฟท์แวร์ application (การใช้งานในแต่ละฟังก์ชันขององค์กร เช่น ระบบบัญชี ระบบดูแลลูกค้า ระบบโรงแรม) การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซึ่งส่วนประกอบต่างๆ ในระบบหลังบ้านนั้นจะถูกเชื่อมต่อเข้าถึงระหว่างกันด้วยอินเทอร์เน็ต

แต่โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีแบบเดิม การเชื่อมต่อซอฟท์แวร์ ถังข้อมูลและผู้ใช้งานขององค์กรใหญ่ๆ ที่มี transaction ในแต่ละวันสูง จะเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายส่วนตัวอย่าง Intranet(Private Link) เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล แต่มีข้อจำกัดคือ การใช้งบประมาณในการลงทุนสูงและใช้เวลาในการติดตั้งนานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนกันเลยทีเดียว แต่ด้วยคอนเซปต์ของ Cloud Computing ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการแบ่งปันทรัพยากร จึงทำให้โมเดลของการรับบริการเป็นแบบ “จ่ายตามจริง” และที่สำคัญ สามารถติดตั้งและใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีการใช้งานบน Cloud โดยเฉพาะ AWS,Azure, Google, Alibaba.ทำให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการcloud ได้อย่างง่ายดายด้วย บริการ DTAC Smart Connect

ในกรณีที่ลูกค้ามีการใช้งาน cloud มากกว่า 1 cloud providerขึ้นไป Smart connect สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลขึ้นไปยัง cloud โดยไม่ต้องผ่าน private link หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า Direct connect หรือ Express route ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องจ่ายสำหรับค่าเช่า Private link เหล่านี้

“ในแง่ของการส่งข้อมูล ในระบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกับการโดยสารรถไฟ ขึ้นจากสถานีหนึ่งไปสถานีหนึ่งตามรางรถไฟที่ปูไว้เท่านั้น แต่สำหรับบริการ Smart Connect ของ DTAC แล้ว จะเหมือนการส่งสินค้าด้วยโดรน สามารถส่งต่อข้อมูลด้วยเส้นทางที่เร็วที่สุด ซึ่งจะมีเทคโนโลยี AI ในการหาเส้นทางที่เร็วที่สุด ยกตัวอย่าง กรณี shipping ผู้ใช้บริการ Cloud สามารถเรียกดูข้อมูลประมวลผลรายงานการเดินเรือได้ภายใน 1 นาที จากที่ต้องใช้เวลานับชั่วโมง ทำให้ความสามารถในการตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น” คุณวิม อธิบาย

ยากไว้กับเรา ง่ายให้ลูกค้า

คุณวิม อธิบายเสริมว่า ด้วยโพสิชั่นนิ่งของ dtac Business ที่ตั้งเป้า “โซลูชั่นเพื่อธุรกิจ” ตอบโจทย์ทุกด้านของการสื่อสาร พร้อมระบบที่ช่วยให้ลูกค้าองค์กรบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้นำโซลูชั่น Smart Connect powered by NetFoundry มาให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าองค์กร ในการนี้ ได้จับมือกับ NetFoundry ซึ่งเป็นผู้บริการคลาวด์โซลูชั่นสัญชาติอเมริกันในการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กร เพื่อยกระดับหลังบ้านขององค์กรให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

ด้วยความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีของ NetFoundry ผู้ใช้บริการ Smart Connect จะมั่นใจได้ว่า ระบบหลังบ้านจะมีความรวดเร็วทั้งในแง่ของการติดตั้งที่ใช้เวลาเพียง 10 นาที และในแง่ของการโอนย้ายข้อมูลใหญ่ๆ ที่เร็วกว่าแบบดั้งเดิมถึง 3-10 เท่า ขณะที่ระบบมีความเสถียรกว่าด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ใช้ในกองทัพของสหรัฐอเมริกา และด้วยความได้เปรียบของเทคโนโลยี Cloud Computing ที่ไม่จำเป็นต้องติดต้องระบบ Intranet(Private link) ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์และระบบสื่อสารแบบดั้งเดิม จึงทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการติดตั้งไปได้ถึง 40-80% เลยทีเดียว

ทังนี้ บริการ Smart Connect powered by NetFoundry แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ Fabric, Gateway, Client และ Data usage ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกช้อปปิ้งได้ตามความต้องการในการใช้งาน ซึ่งขอแย้มว่า มีงบประมาณเพียงหลักหมื่นต้นๆ ก็สามารถเข้าถึงระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยทรานสฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ

นอกจากนี้ ด้วยพันธมิตรทางด้านคลาวด์โซลูชั่นของ NetFoundry ที่หลากหลายและเชื่อถือได้ ทั้ง Amazon Web Services, Google และ Azure ทำให้ลูกค้า dtac Business สามารถเลือกใช้บริการตามความต้องการได้เอง เรียกได้ว่า “มาที่ดีแทค ได้ครบทุกความต้องการทางธุรกิจ” ตามกลยุทธ์บริการลูกค้า ได้แก่ Be Simple, Honest and Human

“คุณราจีฟ ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจของดีแทคได้ให้นโยบายในการทำงานไว้ว่า อะไรที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้กับเรา แล้วนำเสนอบริการที่ง่ายและเข้าถึงให้ลูกค้า” คุณวิม ทิ้งท้าย