เดอะวอลสตรีทเจอร์นัลได้รวบรวมรายชื่อยูนิคอร์น 168 ราย จาก ไอลีน ลี คอยน์ วีซีที่ได้ให้ความหมายว่ายูนิคอร์นเป็นสตาร์ตอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำไมต้องยูนิคอร์น เพราะว่าพวกเขายังหาได้ยาก แน่นอนว่าในอเมริกามีส่วนแบ่งที่มากกว่า ที่รวมถึง Uber Airbnb และ Snapchat แต่ในมาเลเซีย และอินโดนีเซียก็เพิ่งเข้ามาในกลุ่มนี้ แต่ประเทศไทยยังไปไม่ถึงเลย
ตั้งแต่ที่ผมได้เข้ามาเริ่มต้นดูแลดีแทค แอคเซอเลอเรท จนปัจจุบันมีสตาร์ตอัพในระยะที่มีทั้งไอเดียและเติบโตจนมีสินค้าและผู้ใช้บริการแล้วในประเทศไทย ความฝันของผมยังเหมือนเดิม คือต้องการที่จะช่วยให้ สตาร์ตอัพไทยเป็นยูนิคอร์นตัวแรกให้ได้
การไปถึงจุดนั้นได้ ดีแทคแอคเซอเลอเรทมีภารกิจที่สำคัญ โดยมีหลักสูตรการอบรมที่จะช่วยแนะนำสตาร์ตอัพ บางคนเรียกว่าวิถีการสร้างนวัตกรรม เช่น ลีน แคนวาส (Lean canvas) แนวคิดที่เน้นให้แผนธุรกิจนั้น สามารถนำไปใช้ได้จริง ชัดเจน ลดความเสี่ยงจากความผิดพลาด ความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจ หรือ แนวคิดอไจล์ ที่ผมเรียกว่า Built Measure Learn คนที่ใช้คือสตาร์ตอัพในโปรแกรมของเรา สตาร์ตอัพของเรา 70% ได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราเฉลี่ยเพียง 20% ยิ่งในประเทศไทยยิ่งน้อยกว่า หรือจะพูดได้ว่าดีแทค แอคเซอเลอเรท ทำผลงานได้ดีมาก
ในบูธแคมป์ 4 เดือนของเรา มีเวิร์คช้อปอย่างต่ำ 24 ครั้ง เรามีเนียร์ อียาล ผู้ประกอบการธุรกิจและเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเทคสตาร์ตอัพที่ขายดีที่สุด มีแอช มารียา เจ้าตำรับแผนธุรกิจลีน แคนวาส เรามีกูรูจาก แอนดรอยด์ กูเกิล แอปเปิล เรามีพันธมิตรยักษ์ใหญ่ อย่าง อเมซอน Google Facebook Line และไมโครซอฟท์ และเรายังมีลูกค้าในกลุ่มเทเลนอร์ในตลาดทั่วโลก 13 ประเทศ แต่การสร้างยูนิคอร์นเรายังต้องทำอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาการอบรม สิ่งที่เราสอนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาก็ล้าสมัยใช้ไม่ได้แล้ว
การสร้างยูนิคอร์นไม่ใช่เพียงคำถาม ที่เรายังต้องเดินหน้าต่อไปพร้อมๆกับเทคโนโลยีใหม่ มันยังหมายถึงการให้คำปรึกษากับคนที่ใช่ด้วย
ปีนี้เราได้รับใบสมัครเข้าร่วมโปรแกรมกว่า 600 เราคัดเลือกเข้ามาเพียง 2% ซึ่งถ้าเทียบกับการเข้าเรียนในฮาร์วาร์ดยังน่าจะง่ายกว่า การเข้าร่วมดีแทค แอคเซอเลอเรท สตาร์ตอัพที่นี่คือดีที่สุดของที่สุดก็ว่าได้
สตาร์ตอัพดีแทค แอคเซอเลอเรทในแต่ละปี เก่งขึ้นทุกปี และพูดตรงกันว่า ถ้าเข้าโปรแกรมในปีนี้คงไม่สามารถแข่งขันกับรุ่นน้องได้ ใน batch 5 ปีนี้ เรามีสตาร์ตอัพ 2 คนที่จบจาก MIT เรามี Tourkrub สตาร์ตอัพที่มีธุรกรรมในการใช้บริการถึง 200 ล้านบาทในช่วงที่กำลังอยู่ในบูธแคมป์ หรือ Finnomena จาก batch 4 ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การแนะนำการลงทุนถึง 2 พันล้านบาทภายในเวลา 1 ปี และเชื่อว่าปีต่อไปก็จะมีสตาร์ตอัพที่ทำได้เหนือกว่าขึ้นไปอีก
แม้ว่าจะมีความก้าวหน้า แต่เรายังไปได้ช้าหากเทียบกับประเทศสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย นั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญว่าทำไมเราต้องหาวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่จำเป็นในการสร้างทักษะ ปัญหาอีกอย่างคือเรามองหาแต่การแก้ปัญหาให้กับตลาดเพียง 70 ล้านคนในประเทศ ซึ่งไม่ใหญ่พอที่จะสร้างยูนิคอร์น เราต้องคิดถึงตลาดโลกด้วย
นอกจากนี้เรายังต้องการให้กฏระเบียบของภาครัฐที่กำลังมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 ช่วยให้เราสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ในเวลาที่ต้องการ กฏหมายของไทยยังจำกัดจำนวนหุ้นสตาร์ตอัพในบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ปัญหาใหญ่อีกข้อคือนักลงทุนต่างชาติยังไม่สามารถถือหุ้นเกิน 51% ในบริษัท ซึ่งเป็นปัญหาที่นักลงทุนให้ความสำคัญ 1 ใน 3 ของสตาร์ตอัพเราจึงต้องไปจดทะเบียนเปิดบริษัทในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นความสูญเสียที่น่าเศร้า
รัฐบาลได้มีความพยายามที่จะช่วยเปลี่ยนแปลง แต่ก็คงต้องใช้เวลาไปอีก 2 ปีนับจากนี้ ซึ่งเป็นประเด็นในการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล กฏระเบียบในปัจจุบันที่ยังต้องการสิ่งที่แสดงหลักฐานจากลูกค้า หรือจะเป็นกระดาษใบเสร็จ เราต้องการมากกว่า sandboxes ที่เป็นข้อตกลงกฏระเบียบที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นกับธนาคาร ซึ่งประชาชนก็จะได้ใช้ eKYC การระบุตัวตนด้วยช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ และใบเสร็จในรูปแบบของอิเล็คทรอนิกส์
ยูนิคอร์นต้องใช้เวลา ผมมั่นใจว่าเราจะมีแน่ ถ้าสงสัยว่า แล้วใครจะเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย ก็น่าจะเป็นสตาร์ตอัพจากดีแทค แอคเซอเลอเรทในปีแรกๆ ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในระดับ ซีรี่ยส์ C หรือ D ที่กำลังคุยกับนักลงทุนอยู่ โดยเฉพาะ Finnomena และ ClaimDi ที่สามารถขยายได้ง่ายเพราะแก้ปัญหาให้กับคนในระดับโลก
ผมไม่อยากรอให้ถึงเวลาที่จะเริ่ม batch 6 เลย เมื่อเห็นถึงความปรารถนาอันแรงกล้าในสายตาของน้องๆ มันช่วยให้ผมก้าวไปข้างหน้า เวลาที่คุณได้พูดคุยถึงความต้องการเปลี่ยนโลกของเขา ซึ่งแรงปรารถนาของพวกเค้านี่แหละที่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สร้างยูนิคอร์นเกิดขึ้นได้
สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ ดีแทค แอคเซอเลอเรท โครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพอันดับ 1 ที่ช่วยให้คำปรึกษาและช่วยสนับสนุนเงินทุนและการทำธุรกิจ