สำรวจเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลของดีแทค

infographic-dtac

เส้นทางการเติบโตบนโลกดิจิทัล  

10

ในปี 2017 การหารายได้จากช่องทางดิจิทัลของดีแทคทั้งหมด เติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 10 เท่า

30%

ปัจจุบัน 30% ของข้อความ SMS ในเครือข่ายดีแทค ใช้เทคโนโลยี Chatbots ในการตอบผู้ใช้บริการ และในอนาคตอันใกล้เทคโนโลยี Chatbots จะถูกนำไปใช้ตอบคำถามผู้ใช้ในเฟซบุ๊กแฟนเพจของดีแทค เพื่อให้ลูกค้าสะดวกในการใช้งานมากขึ้น

1,400,000

ปัจจุบัน ดีแทคเป็นค่ายมือถือที่มีออนไลน์คอมมูนิตี้ที่ใหญ่และแข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทย โดยมีอัตราการเยี่ยมชมเพจเฟซบุ๊กสูงถึง 1.4 ล้านต่อเดือน และเป็นแบรนด์แรกที่ใช้วิธีการ Gamification ที่ให้ผู้ใช้บริการร่วมเล่นเกมและกิจกรรมสนุกๆ มากมายอีกด้วย

80%

ดีแทคประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชัน เพื่อเข้าถึงและสร้างมีความส่วนร่วมกับลูกค้าได้ถึง 80% จากลูกค้าทั้งหมด

18%

โฆษณาของดีแทคในกูเกิลนั้นมีศักยภาพเพิ่มขึ้น 10 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งยอดคลิกโฆษณาบนกููเกิลของดีแทค คิดเป็น 18% จากปริมาณโฆษณาทั้งหมด เทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่อยู่แค่ 2% เท่านั้น

30%

ดีแทคสามารถใช้เทคโนโลยี AI จากแอพพลิเคชััั่นแนะนำ เพื่อเพิ่มยอดขายแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตและการโทรศัพท์เพิ่มเติมได้ถึง 30% จากยอดขายโดยรวมทั้งหมด ซึ่งใกล้เคียงกับบริษัท amazon ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการเพิ่มยอดขายได้ถึง 35%

 70%

dtac accelerate โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพสัญชาติไทยตอกย้ำความสำเร็จ โดยกว่า 70% ของโปรเจ็กต์ทั้งหมดได้รับเงินลงทุนต่อเนื่อง (Follow-on Funding) จากนักลงทุนทั่วโลก

สร้างวัฒนธรรมดิจิทัลจากภายใน

สลับเปลี่ยนบทบาทสร้างทักษะที่หลากหลาย

วัฒนธรรมการทำงานที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของดีแทค คือการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม โดยมีกว่า 10 ทีมของดีแทคที่จะสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อเรียนรู้มัลติสกิลใหม่ๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมสำคัญในการทำงานในโลกดิจิทัล

ใช้เทคโนโลยีให้ถูกจุด

ในองค์กรดีแทคมีการนำเครื่องมือและระบบ Machine learning รวมถึง Data Science ที่มีคุณภาพระดับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่อย่าง Telenor มาใช้งาน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพาร์ตเนอร์สำคัญอย่าง Google และ Facebook รวมทั้งโปรเจ็กต์ใหม่ล่าสุดที่กำลังจะเปิดตัวแล็บ AI ที่ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย

 ท้าทายพนักงานด้วย 40-Hour Challenge

ดีแทคมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถสำคัญๆ ให้กับพนักงานทั้งบริษัทในโครงการ 40-Hour Challenge ซึ่งเน้นการเรียนรู้การวิเคราะห์ ระบบคิดแบบ Design Thinking วัตถุประสงค์ของ Agile Method รวมทั้งความสำคัญของ Soft – Hard skills

ปรับเปลี่ยนการให้ KPI

ดีแทคปรับเปลี่ยนวิธีการวัดผล KPI แบบเดิม มาเน้นการสร้างรากฐานระบบการทำงานที่แข็งแรงมากขึ้น โดยคุณสามารถโดนตรวจสอบหรือได้รับคำแนะนำจากทั้งเพื่อนร่วมงานในแผนกอื่น หรือหัวหน้าแผนกคนอื่นๆ

เติมฟันเฟืองดิจิทัล

ดีแทคมีการวางแผนที่จะจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นอีก 200 ตำแหน่งภายในปี 2018-2020 เพื่อเดินหน้าในโลกดิจิทัลอย่างแข็งแรงในอนาคต

ENGLISH VERSION