ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยน และนั่นทำให้ในทุกบริษัทจำเป็นต้องมีกลุ่มคนผู้วางทิศทางองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง และสำหรับดีแทคก็คือแผนก Strategy & Innovation (แผนกกลยุทธ์และนวัตกรรม) ซึ่งมีความหลากหลายสูง ทั้งชาติพันธุ์และประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขาย ด้านผลิตภัณฑ์ ตลอดจนด้านไอที
แผนกกลยุทธ์มีสมาชิกทั้งสิ้น 30 ทีม แบ่งออกเป็น 5 ทีม ซึ่งมีนายทีโบ จีราร์ด เป็นขุนศึกด้านกลยุทธ์
วันนี้ เราได้สัมภาษณ์เขาถึงเบื้องหลังแนวคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อมองอนาคตของดีแทคต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมในอนาคต
“ทีมเรามีบทบาทในการริเริ่มแนวคิดต่างๆ ในกรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในดีแทค โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโปรเจ็คนั้นไม่เหมาะกับโครงสร้างในปัจจุบัน เราจึงต้องเริ่มจากศูนย์” นายทีโบกล่าว
STRATEGY PLAYS
ภายใต้แผนกกลยุทธ์และนวัตกรรม ซึ่งแน่นอนว่า หนึ่งในหน้าที่สำคัญคือการกำหนดกลยุทธ์องค์กร เราทำงานร่วมกับหลายฝ่ายในดีแทคเพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของเรา และสอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลยุทธ์ทางเทคโนโลยี ด้านการขายและด้านการตลาด
“สถานะของดีแทคตอนนี้ต่างจากเมื่อต้นปี 2561 มาก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนด้านคลื่นความถี่ แต่ตอนนี้ เรามีจำนวนคลื่นความถี่ในมือมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา”
“โดยปกติ ดีแทคจะมีการรีวิวกลยุทธ์องค์กรระยะ 3 ปีในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมของทุกปี แต่ในปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้กระบวนการรีวิวกลยุทธ์ล่าช้าและส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ด้านคลื่นความถี่ แต่ขณะนี้ เรากลับมาสู่ไทม์ไลน์เดิมและกำลังเริ่มแผนสำหรับปี 2564” นายทีโบกล่าว
SIMPLE, HONEST, HUMAN
ควบคู่ไปกับการกำหนดกลยุทธ์ ทีมนี้ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการลดปริมาณเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคอนเทนท์บนมือถือที่มีการเก็บค่าใช้บริการอย่างไม่เหมาะสม จาก 80,000 ครั้ง ในเดือนมกราคม 2018 เหลือเพียง 5,000 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่าน
นอกจากนี้ ทีมผลิตภัณฑ์ดิจิทัลยังได้โฟกัสไปที่การสรรหาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่มากไปกว่าบริการว้อยซ์และดาต้า สะท้อนถึงบทบาทของผู้ให้บริการในการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ให้แก่บริการมือถือ ตัวอย่างเช่น การชำระค่าบริการสำหรับผู้ที่ไม่เข้าถึงบริการทางธนาคารอย่างเช่นบัตรเครดิต ก็สามารถชำระค่าบริการผ่าน Apple Store หรือ Google Play ได้ ซึ่งมีศักยภาพอย่างมากในการทำให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึง digital ecosystem ได้
“มันมีโอกาสอีกมากที่จะทำให้ชีวิตของลูกค้าดีแทคเรียบง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น” นายทีโบกล่าว “ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เราออกโปรแกรมประกันจอโทรศัพท์มือถือ ซึ่งไม่เคยมีผู้ให้บริการรายได้ทำมาก่อน ซึ่งโปรแกรมจะทำให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลว่า เมื่อใช้งานแล้วจอโทรศัพท์จะแตกเมื่อไหร่ เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมเซล เพื่อให้มั่นใจว่าขึ้นตอนการลงะเบียนนั้นง่าย ไม่ยุ่งยาก รวมไปถึงมการเข้าถึงบริการและคอนเทนท์ต่างๆ ต้องง่าย ซึ่งนี่ทำให้เราแตกต่างกว่าคนอื่น”
INNOVATION POWER
นอกจากนี้ ทีมนวัตกรรมกำลังพัฒนา dtac@home ซึ่งเป็นบริการใหม่ fixed broadband หรือเรียกได้ว่าเป็นอินเทอร์เน็ตบ้านที่ไม่ต้องลากสายเคเบิล ซึ่งปัจจุบันมี 2 แพ็คเกจ ได้แก่ 10 Mbps และ 15 Mbps โดยกำลังทดลองตลาดอยู่ในบางพื้นที่
ขณะเดียวกัน ทีมนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของ agile front runner ในการพัฒนาแแพลทฟอร์ม EV และเกษตรอัจฉริยะ เช่นเดียวกัน ทีมนี้ยังมีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานแบบ design thinking และ hackathon
“จากการเวิร์คช็อปและการทำงานแบบ agile ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาถือว่ามีแนวโน้มที่ดีมาก แต่สิ่งที่ท้าทายคือ จะทำอย่างไรใหพนักงานทุกคนทำงานแบบ design thinking และ agile” นายทีโบกล่าว “เราต้องให้พนักงานเหล่านี้ได้เข้าถึงลูกค้าเรามากยิ่งขึ้น เพื่อให้เข้าใจและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น”
DTAC ACCELERATE
เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ดีแทคได้เปิดตัวโรงเรียนบ่มเพาะสตาร์ตอัพหรือ accerator house ซึ่งได้ดึงดูดสตาร์ตอัพแนวหน้าของวงการเข้ามาถึง 61 ทีม ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งนี่ถือเป็นหน่วยงานภายใต้แผนก Strategy & Innovation
“เหล่าสตาร์ตอัพ นักลงทุนและบริษัทต่างๆ ต่างรับทราบดีว่า dtac accelerate มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันอีโคซิสเต็มของวงการสตาร์ตอัพให้เกิดขึ้นและรุ่งเรืองขึ้นในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ประสบปัญหาในการนำนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจของสตาร์ตอัพมานำเสนอบริการลูกค้าดีแทคอย่างยั่งยืน” นายทีโบเผย “และนี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อลูกค้าก่อนการมำถึงของ 5G ซึ่งจะเปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจของ telco”
IoT
สำหรับหน่วยงานสุดท้ายที่อยู่ภายใต้ทีมกลยุทธ์ก็คือ ทีมพัฒนาอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่งหรือ IoT ซึ่งมีการฟอร์มทีมเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างพื้นฐานและแพลทฟอร์มในการจัดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ IoT เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ในการสร้างพันธมิตรเพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชั่น IoT ตลอดจนโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ
“เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เปิดให้บริการซิม IoT ซึ่งลูกค้าบริษัทสามารถลงทะเบียนและซื้อซิมได้โดยตรงผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ เรายังได้ร่วมมือกับ ASEFA ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายตู้สวิตช์บอร์ดรายใหญ่ของไทยในการพัฒนาตู่สวิตช์บอร์ดที่สามารถควบคุมการปิดและเปิดสวิตช์ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นได้” นายทีโบกล่าว
และด้วยคลื่นความถี่ 700 MHz ที่เพิ่งได้รับการจัดสรร ดีแทคมีแผนในการขยายโครงข่าย NB-IoT ซึ่งเป็นมาตรฐานโครงข่ายที่ใช้พลังงานต่ำในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ทั้งยังช่วยให้สัญญาณเข้าถึงได้ดีขึ้นในพื้นที่อินดอร์ และนั่นหมายถึง ศักยภาพมหาศาลในการเกิดขึ้นของ eSIM
แม้จะมีภาระงานอันหนักหน่วง แต่ในฐานะของผู้นำทีม ทีโบบอกว่า “ผมไม่กลัวว่าจะล้มเหลว ในทางกลับกัน มันคือการค้นหาโอกาสและเราจำเป็นต้องโฟกัส ดังนั้น เราจึงควรเริ่มให้เร็วและถ้าเห็นว่าไม่เวิร์ค ก็หยุดให้เร็ว และยิ่งไปกว่านั้น ตอนนี้เน็ตเวิร์คของเราดีแล้ว เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้ามีความสุขมากขึ้น