การยกระดับบริการทางการแพทย์ในยุควิถีใหม่ของโรงพยาบาลราชธานี ผ่านโซลูชันการเชื่อมต่อที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์ความท้าทายทางเศรษฐกิจ

ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวลือแพร่สะพัดบนโลกโซเชียลมีเดียว่ามีนักท่องเที่ยวชาวจีนป่วยด้วยโรคโควิด-19 มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชธานี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด ข่าวลวงดังกล่าวแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดีย และได้สร้างความตื่นตระหนกในหมู่ผู้ใช้บริการและชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวนมาก 

“ช่วงนั้นมีทั้งแพทย์ เจ้าหน้าที่ และคนไข้ โทรศัพท์และส่งข้อความเข้ามาสอบถาม ทางโรงพยาบาลต้องใช้ช่องทางสื่อสารทุกช่องทางเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ทั้งในไลน์กลุ่มคนไข้ ข้อความ SMS และเพจเฟซบุ๊ก ถ้าเราไม่มีการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องออกไปอย่างทันท่วงที คนไข้ก็อาจจะไม่มาเข้ารับบริการกับเรา ซึ่งจะสร้างความเสียหายมหาศาลให้กับโรงพยาบาล เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตช่วงนั้นมาได้” นพ.สุรินทร์ ประสิทธิ์หิรัญ ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลราชธานี กล่าว

โรงพยาบาลราชธานีเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เนื่องจากเล็งเห็นว่าพื้นที่อันเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมนี้ ยังขาดแคลนบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลราชธานีถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางหลากหลาย อาทิ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง คลินิกยาต้านโรคมะเร็ง ศูนย์หัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุขนาดใหญ่ และศูนย์ความงามที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ “เราตั้งเป้าที่จะเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำของภาคกลางตอนล่าง คือก่อนจะไปกรุงเทพฯ ให้นึกถึงราชธานีก่อน” นพ.สุรินทร์กล่าว

นอกเหนือจากโรงพยาบาลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายหลักอย่างโรจนะและสายเอเชียแล้ว กลุ่มบริษัทยังเป็นเจ้าของโรงพยาบาลในเครือข่ายอีกแห่ง คือโรงพยาบาลราชธานี โรจนะ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายเดียวกัน และมีแผนจะเปิดให้บริการโรงพยาบาลราชธานี 2 ในปี 2564 เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ทั้งนี้ ตั้งแต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยนอกมาเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเฉลี่ยประมาณ 1,600 คนต่อวัน โดยกว่า 1,000 รายนั้นเป็นผู้ป่วยประกันสังคม

 

“ผมพอใจกับจำนวนผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรับได้ต่อวัน เพราะถ้ามากกว่านี้ มันจะหนาแน่นเกินไปและอาจส่งผลต่อคุณภาพบริการของเรา อย่างโรงพยาบาลราชธานี โรจนะนั้น ก่อนเกิดโควิดมีผู้มาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,000 คน และในช่วงหลังโควิดประมาณ 500-600 คน จึงเป็นสาเหตุที่เราตัดสินใจสร้างโรงพยาบาลราชธานีอีกแห่งขึ้น อีกทั้งจำนวนผู้ป่วยประกันสังคมของเราขณะนี้เต็มจำนวนแล้ว” นพ.สุรินทร์เล่า โดยในช่วงสายของวันสัมภาษณ์ซึ่งเป็นวันธรรมดานั้น มีคนไข้ยืนต่อแถวอยู่ตรงบริเวณทางเข้า ขณะรอให้เจ้าหน้าที่พยาบาลตรวจวัดไข้และซักอาการเบื้องต้น ก่อนจะเข้าไปยังตัวอาคาร เก้าอี้ภายในโรงพยาบาลนั้นถูกจับจองจนเกือบเต็ม สะท้อนถึงความต้องการทางการแพทย์ของผู้คนในจังหวัดแม้ในยุคหลังโควิด-19

แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ลงเป็นที่เรียบร้อย แต่โรงพยาบาลราชธานีก็ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร มาช่วยปรับเปลี่ยนวิถีการให้บริการให้สอดรับกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังในการออกจากบ้านมากขึ้น อาทิ การส่งข้อความผ่าน SMS และแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อแจ้งเตือนคนไข้เมื่อใกล้ถึงวันนัดหมาย และการส่งยาทางไปรษณีย์ในกรณีที่คนไข้ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลยังมีแผนจะนำแอปพลิเคชันมือถือมาใช้บริหารจัดการระบบคิวและการรับยา พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่าน QR Code เพื่อลดการสัมผัสด้วย แต่นพ.สุรินทร์ก็ยอมรับว่าสำหรับโรงพยาบาลต่างจังหวัด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต้องกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในทำนองเดียวกับที่เทคโนโลยี telemedicine หรือ ‘การแพทย์ทางไกล’ ซึ่งถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้งในยุคโควิด-19 นั้น ยังอาจเป็นความท้าทายในตอนนี้ 

blank

“เทคโนโลยี telemedicine ผมว่ามันมีประโยชน์สำหรับการให้คำแนะนำเบื้องต้น ซึ่งอุปกรณ์ในการดูแลสุขภาพที่บ้านต้องมีความพร้อม ใช้งานได้ง่าย เพราะเราต้องอาศัยการเก็บข้อมูลที่แม่นยำชัดเจนในการวินิจฉัยโรค หากเรามีความพร้อมตรงจุดนี้ มันก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่ต้องส่งต่อคนไข้จากบ้านมายังโรงพยาบาล รวมทั้งสงวนการมาโรงพยาบาลไว้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น” นพ.สุรินทร์อธิบาย

นอกจากการให้บริการทางการแพทย์แล้ว เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารยังอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างบุคลากรในโรงพยาบาล นับตั้งแต่การส่งข้อความและภาพ ไปจนถึงการประชุมทางไกลเพื่อให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์ต่างแผนก ทำให้ขั้นตอนการรักษาเกิดความรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น “บางทีแพทย์เขาถ่ายรูปในห้องผ่าตัดหรือวิดีโอคอลล์ เพื่อขอความเห็นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ทำให้หลายครั้งแพทย์เฉพาะทางเหล่านี้ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลจริงๆ ช่วยย่นระยะเวลาการผ่าตัด ซึ่งส่งผลดีต่อคนไข้” 

นพ.สุรินทร์ยังชี้ด้วยว่าการส่งต่อคนไข้นั้นเป็นปัญหาใหญ่ของหลายโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤต เนื่องจากหลายครั้งโรงพยาบาลมีเตียงไอซียูไม่เพียงพอ ซึ่งโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างราชธานีนั้นทำหน้าที่รองรับผู้ป่วยทั้งในเครือข่ายและจากโรงพยาบาลรัฐ โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงกรกฎาคมนั้น มีการส่งต่อผู้ป่วยหนักมายังโรงพยาบาลราชธานีกว่า 420 ราย การสื่อสารที่ราบรื่นจึงช่วยอำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างโรงพยาบาลต่างๆ และบุคลากรทางการแพทย์ประจำโรงพยาบาลราชธานีซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 850 ชีวิต

“ระบบเราเชื่อมต่อถึงกันหมดกับโรงพยาบาลที่โรจนะ ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลครั้งสุดท้ายเมื่อไร ได้ยาอะไรไป เราเห็นหมด เทคโนโลยีตรงนี้ช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาการจ่ายยาซ้ำซ้อน และอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์ โดยแพทย์สามารถอ่านฟิล์มเอกซ์เรย์บนมือถือได้เลย พกมือถือติดตัวไปเครื่องเดียวก็ทำได้ทุกอย่าง” นพ.สุรินทร์เล่า

blank

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง และทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง  แต่ทางโรงพยาบาลก็มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น มาตั้งแต่ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับยุคสมัย สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรและผู้มาใช้บริการ “เราทำธุรกิจด้วยความจริงใจ ทั้งต่อผู้ถือหุ้น คนไข้ พนักงาน และคู่ค้า เราให้การรักษาคนไข้ที่สมเหตุสมผล สำหรับบุคลากรของเรา เรามีการมอบโบนัสและขึ้นเงินเดือนให้ทุกๆ ปี แม้จะเป็นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม แต่แน่นอนว่า การทำธุรกิจนั้น เราต้องคาดหวังผลกำไร ซึ่งในจุดนี้เรามีการควบคุมค่าใช้จ่ายมาตลอด”

ทางโรงพยาบาลราชธานีเลือกดีแทคในการเป็นผู้ให้บริการ Connectivity Service ซึ่งนับเป็นศักยภาพสำคัญของโรงพยาบาลในการติดต่อประสานงานภายในและนอกกับผู้ป่วย และโรงพยาบาลเลือกใช้แพ็กเกจซิมเพื่อธุรกิจ dtac business WorryFree เพื่อเป็นตัวช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรภายในโรงพยาบาล โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการ “ก่อนหน้านี้เราเคยมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกินทั้งจากข้อความ SMS และค่าโทรศัพท์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากส่วนไหน แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็วไม่จำกัดของดีแทคธรุกิจ เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ รวมทั้งช่วยสนับสนุนการทำงานของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ให้เราบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต้องขอบคุณดีแทคที่มาเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา” นพ.สุรินทร์ทิ้งท้าย

blank