ความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

มีศัพท์อยู่ 2 คำที่ค่อนข้างมีความหมายที่สับสนระหว่างกัน นั่นคือคำว่า digitization กับ digitalization ซึ่งดูเผินๆ ทั้ง 2 คำ หมายถึง การทำให้เป็นดิจิทัล อย่างไรก็ตามคำศัพท์ 2 คำดังกล่าว มีความแตกต่างกันทางนัยยะ

Digitalization เป็นมากกว่าแค่การปรับปรุงบริการแบบเก่าให้เป็น digital ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนการสื่อสารจากจดหมายเป็นอีเมล ขณะที่ digitalization เป็นศัพท์ใหม่ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนเชิงโครงสร้างทางธุรกิจที่มีฐานรากจากเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างเช่นการเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจของเหล่าสตาร์ตอัพที่เข้ามา disrupt รูปแบบธุรกิจเดิมๆ ตัวอย่างเช่น DriveMate หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ dtac Accelerate ที่นำรถที่ไม่ได้ใช้มาปล่อยเช่าผ่านแอพพลิเคชั่น นั่นหมายถึง DriveMate กำลัง disrupt ธุรกิจให้เช่ารถในปัจจุบัน Digitalization จึงเป็นแก่นสำคัญของดีแทค ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บริการที่ดีขึ้นกับกลุ่มลูกค้าและสร้างสรรค์สังคม อีกทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การรับแนวคิด digitalization เข้ามานั้น จำต้องมาพร้อมกับคำว่า Disruption ซึ่งขอนิยามว่าคือ การทลายขีดจำกัดแนวคิดทางธุรกิจแบบเดิมๆ เพื่อตอบสนองบริการแก่ลูกค้า ซึ่ง disruption เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ เพราะ disruption นี้ ทำให้ชีวิตของลูกค้าง่ายขึ้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ธุรกิจดั้งเดิมกำลังขัดขวางผ่านกระบวนการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางกฎหมาย

สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ดีแทค เราเชื่อมั่นว่ากฎต่างๆ ควรจะเอื้ออำนวยให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ทำให้ชีวิตของผู้บริโภคง่ายขึ้น นอกจากนี้ เรายังต้องการสิ่งที่ทำให้มั่นใจว่าคนไทยในทุกชนชั้นของสังคมสามารถเข้าถึงนวัตกรรมด้วยอินเตอร์เน็ตที่ราคาเข้าถึงได้

ปัจจุบัน ดีแทคเราใช้กลยุทธ์ “คุ้มค่าค้มราคา” ซึ่งเรายังคงรังสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เช่นเดียวกับ Line Mobile ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง DTN กับ  LINE THAILAND ที่เขย่าตลาดไปแล้วเมื่อครั้งเปิดตัว ถือเป็นอีกตัวอย่างของการ disruption เพื่อตอบสนองแก่ผู้บริโภคด้วยราคาที่ถูกกว่า โดยดำเนินการผ่านช่องทางดิจิทัลเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดกฎระเบียบและนโยบายที่เอื้อต่อการ digitalization

การมองกฎระเบียบและนโยบายจำต้องมองสู่อนาคต เพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตขึ้นของนวัตกรรมการบริการทางด้านดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ที่มีราคาสมเหตุสมผล ตลอดจนกฎระเบียบอื่นๆ ที่เอื้อต่อนวัตกรรมทางดิจิทัล เช่น ระบบการตรวจสอบตัวตน (KYC: Know Your Customer)

และจาก a day at dtac พื้นที่แห่งใหม่ที่จะรวบรวมเรื่องราวของดีแทคมาให้ได้อ่านและยิ้มไปพร้อมๆ กัน โดยมุมมองจากทีมงานนิตยสาร a day ซึ่งมองเห็นโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก digitalization ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร Insects in the Backyard ที่ลูกค้าสามารถทานอาหารที่มาจากโครงการ dtac Smart Farmer ซึ่งเป็นโปรเจ็คของทีม Sustainability หรือทีม DG ที่แสดงให้ถึงการ disrupt ตัวเองขององค์กรขนาดใหญ่ ขณะที่ทีม TG ได้พลิกแนวคิดของเสาที่มากกว่าการส่งสัญญาณ

อีกเรื่องที่ผมชอบคือ ความมานะอุตสาหะของทีม TG ที่รับผิดชอบด้านการอำนวยความสะดวกการสื่อสารของผู้มาเคารพพระศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งถือเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ของดีแทคในการเชื่อมต่อความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทย

 

ENGLISH VERSION