สรุปจุดยืนดีแทคสำหรับการพัฒนา 5G ในประเทศไทย และเก็บตกจากงานเสวนา “กระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน”

นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ย้ำ มุ่งสู่ 5G แน่นอน โดยปี 2564 เหมาะที่ประเทศไทยจะให้บริการ 5G

5G ไม่ใช่เทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์แก่บริษัทโทรคมนาคมเท่านั้น แต่เป็นเครื่องมือที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ และสังคมโดยรวม

ประเทศไทยต้องพัฒนา 5G อย่างระมัดระวังและละเอียดรอบคอบ ต้องวางแผนสู่ยุทธศาสตร์ของประเทศซึ่งต่อยอดจากการทดสอบทดลองใช้ 5G ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และต้องไม่ลืมที่จะส่งเสริมความร่วมมือทั้งในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 อันเป็นวาระแห่งชาติ

ทั้งนี้ ดีแทคมองว่าถ้าเร่งเปิดให้บริการ 5G ขณะที่มีการวางแผนคลื่นความถี่ใช้งานไม่ตรงกับคลื่นมาตรฐานทั่วโลก จะทำให้มีผลเสียกับไทยในระยะยาว ทำให้ขาดอุปกรณ์การใช้งานทั้งสมาร์ตโฟน และอุปกรณ์สถานีฐานรับ-ส่งสัญญาณ การลงทุนมหาศาลสำหรับ 5G ต้องมั่นใจในความถูกต้องตั้งแต่ก้าวแรกของการลงทุน

เนื่องจากปัจจุบันบริการ 5G ยังไม่ชัดเจน รวมถึงรูปแบบในการให้บริการเชิงพาณิชย์ และความต้องการคลื่นความถี่เพื่อบริการ 5G จึงยังไม่ชัดเจนเช่นกัน ดังนั้น การจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยผู้ให้บริการสามารถวางแผนทดลองการใช้งานและการให้บริการต่างๆ ได้ดีขึ้น ประเทศอื่นส่วนใหญ่มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ที่ชัดเจนและกำหนดคลื่นความถี่สำคัญที่ต้องจัดสรร อั

ปี 2564 เหมาะสมเป็นช่วงเวลาที่บริการ 5G เริ่มเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย เทคโนโลยี 5G ต้องอาศัยคลื่นความถี่จากหลายย่าน ตั้งแต่คลื่นย่านความถี่ต่ำ ความถี่กลาง และความถี่สูง หรือ Millimeter Wave

ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน การที่ประเทศไทยจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมสำหรับเทคโนโลยี 5G ในอนาคตนั้นต้องอาศัยงบประมาณมหาศาล ดีแทคหวังว่าภาครัฐจะส่งเสริมให้มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure sharing) รวมถึงภาครัฐจะต้องทบทวนกฎระเบียบเดิมในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และลดขั้นตอนซับซ้อนในกระบวนการขออนุญาต  เพื่อให้สามารถขยายเครือข่ายได้รวดเร็วขึ้น ดีแทคเชื่อว่านี่คือโอกาสสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน

แผนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมต้องมุ่งเน้นไปที่การทดลองใช้งาน 5G หากรัฐบาลช่วยกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ เทคโนโลยี 5G ย่อมออกสู่ตลาดได้ในไม่ช้า ความร่วมมือดังกล่าวยังรวมถึงการผลักดันโครงการเมืองอัจฉริยะและการใช้งาน 5G ในภาครัฐ หากภาครัฐปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อศึกษาว่าทั้งสองฝ่ายมีความสนใจในตัวอย่างการใช้งานใดที่สอดคล้องกัน เราก็จะค้นพบโอกาสใหม่ๆ ที่สร้างจากเทคโนโลยี 5G

blank